Skip to content
หน้าเเรก
รีวิว
สั่งซื้อ
คำถามที่พบบ่อย
บทความน่ารู้
วิธีใช้
ติดต่อเรา
#1071 (ไม่มีชื่อ)
Search for:
บทความน่ารู้
สูงวัยลำไส้เเปรปรวน เกิดจากอะไร ?
12/10/2021
29/03/2022
สูงวัยลำไส้เเปรปรวน เกิดจากอะไร ?
ลำไส้คืออวัยวะส่วนหนึ่งในร่างกายที่มีการทำงานเเทบจะตลอดเวลา เมื่อเวลาผ่านไป อายุเรามากขึ้น ปัญหาสุขภาพต่างๆก็จะตามมาเช่นกัน
1. ร่างกายทรุดโทรมตามกาลเวลา
เมื่ออายุเข้าสู่วัย 50-60 ปี ร่างกายรวมทั้งระบบการย่อยทำงานจะเริ่มเสื่อมและไม่เป็นปกติ การบีบตัวของลำไส้น้อยลง การย่อยและดูดซึมไม่สมบูรณ์ทำให้มีของเสียตกค้างมาก และเมื่อขับถ่ายน้อย ของเสียยิ่งค้างในลำไส้นาน น้ำจะถูกดูดกลับ ทำให้อุจจาระแข็งและแห้ง ยิ่งทำให้ขับถ่ายยาก เกิดการท้องผูกเรื้อรัง นำไปสู่การเกิดมะเร็งลำไส้
คลิกเพื่ออ่านสาระน่ารู้เกี่ยวกับมะเร็งลำไส้
2. การรับประทานอาหาร
กากใยทั้งจากพืชและผลไม้ทำงานร่วมกันในการช่วยกระตุ้นให้ขับถ่าย รวมทั้งให้การขับถ่ายง่ายขึ้น เเต่ในผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักกินผักผลไม้ไม่เพียงพอ เพราะเคี้ยวลำบากเจ็บฟันและเหงือก หรือ บางคนกินผักผลไม้แล้วท้องอืด อึดอัด ทั้งยังมีพฤติกรรมดื่มน้ำน้อยเพราะหลีกเลี่ยงการเข้าห้องน้ำ เนื่องจากลำบากที่ต้องลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยๆ นี่ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้
คลิกเพื่ออ่าน 7สมุนไพรช่วยขับถ่าย
3. การเสียสมดุลในลำไส้ใหญ่ เนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวินะ
ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย เเต่จะ ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัส ไม่มีผลต่อโรคภูมิแพ้ เเละ ไม่เพียงกำจัดเชื้อโรคเท่านั้น แต่ยังทำลายโพรไบโอติกส์หรือจุลินทรีย์สุขภาพในลำไส้ใหญ่ตายด้วย โพรไบโอติกส์มีความสำคัญต่อการรักษาความแข็งแรงของลำไส้ใหญ่และกระตุ้นการขับถ่าย ผู้สูงอายุที่ใช้ยาปฏิชีวนะบ่อยหรือต่อเนื่องเป็นเวลานาน มักสูญเสียโพรไบโอติกส์ ลำไส้จึงเสียสมดุล ทำให้ท้องผูกหรือท้องเสียสลับกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบในผู้สูงอายุเสมอๆ
คลิกเพื่ออ่าน หน้าที่ของลำไส้ใหญ่
4. ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย
การเดิน การเคลื่อนไหวร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหว และเป็นการกระตุ้นการขับถ่าย ดังนั้นผู้สูงอายุที่ชีวิตประจำวัน นั่ง หรือ นอนนานๆ มักจะท้องผูกมากกว่าผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆเป็นประจำ
คลิกเพื่ออ่านเคล็ดลับสุขภาพดีทั้งวัน
5. ผลข้างเคียงของยา
ยาบางอย่างมีผลข้างเคียงทำให้ท้องผูกได้ เช่น ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ชนิดสเตียรอยด์ ยาลดความดันบางชนิด ยาถ่าย ยาลดกรด เช่น อลูมินัมไฮดรอกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น คลิกเพื่ออ่าน
อันตรายจากการกินยาถ่าย
admin
Related Posts
บทความน่ารู้
เลิกได้เลิก !!! 6 อาหารที่ควรเลี่ยง ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้
12/10/2021
29/03/2022
บทความน่ารู้
7 เคล็ดลับการดูแลสำไส้ใหญ่
12/10/2021
29/03/2022
บทความน่ารู้
5 เทคนิคพุงยุบ ฉบับสาวออฟฟิศ
06/10/2021
29/03/2022